NABI ACNA-VIT GUMMIES

FAQ คำถามที่พบบ่อยในการรับประทาน Nabi Acna-Vit Gummies

แอคน่า-วิต กัมมี่

ทำไมต้องเป็นอาหารเสริมรูปแบบกัมมี่

อาหารเสริมรูปแบบกัมมี่ เป็นอาหารเสริมรูปแบบใหม่ที่มีความยืดหยุ่น นุ่ม หนึบ รสชาติอร่อย เคี้ยวได้เหมือนขนม แต่ยังได้รับสารสกัดหรือวิตามินต่างๆ อย่างครบถ้วน

ต่างจากอาหารเสริมรูปแบบเม็ดและผงชงดื่มอย่างไร

อาหารเสริมรูปแบบกัมมี่ถูกพัฒนาเพื่อให้รับประทานได้ง่ายขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถกลืนยาเม็ด หรือแคปซูล รับประทานได้ทุกที่ทุกเวลาไม่ต้องชงหรือผสมน้ำ นอกจากนี้การเคี้ยวกัมมี่ยังทำให้เกิดการย่อยและดูดซึมสารสำคัญได้ดีกว่าวิตามินในรูปแบบเม็ดอีกด้วย(1)

จุดเด่นของ นาบิ กัมมี่

นาบิ กัมมี่ ได้รับการวิจัยพัฒนาให้เป็นอาหารเสริมในรูปแบบกัมมี่ที่ปราศจากน้ำตาล เหมาะสำหรับผู้บริโภคที่รักสุขภาพอย่างแท้จริง เนื้อนุ่มหนึบ รสชาติอร่อย เคี้ยวเพลิน

  • ทำจากเจลาตินและเพกทินผสมผสานให้มีเนื้อสัมผัสนุ่ม หนึบ ไม่นิ่มหรือแข็งเกินไป
  • ไม่มีน้ำตาล (0% Sugar) เลือกใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ได้แก่ Sorbitol, Maltitol และ sucralose
  • Lactose-free ผู้แพ้น้ำตาลแลคโตส (Lactose intolerance) สามารถทานได้
  • ไม่มีไขมัน (0% Fat)
  • มีแคลอรีต่ำ

นาบิ แอคน่า-วิต กัมมี่มีส่วนประกอบอะไรบ้าง

ACTRISAVETM (สารสกัดจากข้าวสีนิลและสารสกัดจากผลพริกลีแพร์), สารสกัดจากบัวบก, ซิงก์ (Zinc), วิตามินบี 3,
วิตามินบี 5 และวิตามินซี

นาบิ แอคน่า-วิต กัมมี่ ช่วยเรื่องอะไร

ช่วยลดสิวที่ต้นเหตุ โดยลดความมันบนผิวหน้า ลดการอุดตันของรูขุมขน ลดการอักเสบ และยังช่วยให้ผิวกระจ่างใสขึ้น รอยดำจากสิวจางลง

นาบิ แอคน่า-วิต กัมมี่ เหมาะกับใครบ้าง

  • ผู้ที่มีปัญหาผิวมัน เกิดสิวอุดตันง่าย
  • ผู้ที่มีปัญหาสิวอักเสบ
  • ผู้ที่มีสิวจากฮอร์โมน
  • ผู้ที่มีรอยดำ รอยแดงจากสิว

สิว เกิดจากอะไร

สิว (Acne หรือ Acne Vulgaris) เป็นภาวะความผิดปกติของหน่วยรูขุมขนและต่อมไขมัน ทำให้เกิดการอุดตันที่รูขุมขนจนเกิดเป็นสิว หากเนื้อเยื่อบริเวณนั้นติดเชื้อแบคทีเรีย อาจเกิดเป็นสิวอักเสบ และพัฒนากลายเป็นตุ่มหนอง สิวหัวช้าง และซีสต์ต่อไปได้(2) การเกิดสิวพบมากเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นจนถึงวัยผู้ใหญ่(3) สิวเป็นโรคที่สามารถหายได้เองแต่ก็อาจมีผลกระทบที่ตามมาหลังการเกิดสิว เช่น แผลเป็น รอยดำ หรือหลุมสิว ซึ่งอาจทำให้สูญเสียความมั่นใจและส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้

สิวเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

  • ฮอร์โมนเพศแอนโดรเจนที่มีผลต่อการเกิดสิว คือ Dihydrotestosterone (DHT) โดยส่วนมากแล้วฮอร์โมนจะมากขึ้นเมื่อเราเข้าสู่วัยรุ่นจึงมักพบสิวได้มากในวัยนี้(2) ฮอร์โมนนี้ทำให้เซลล์ในรูขุมขนเพิ่มจำนวนมากกว่าปกติ เซลล์จะตายและถูกผลัดออกมามากจนอาจเกาะตัวสะสมรวมกับน้ำมันจากต่อมไขมันและแบคทีเรียจนใหญ่ขึ้นกลายเป็นสิวอุดตัน (comedones)(4) นอกจากนี้ยังทำให้เซลล์ต่อมไขมันแบ่งตัวมากขึ้น ทำให้มีการผลิตซีบัม (sebum) หรือไขมันต่างๆ มากขึ้น และจะถูกแบคทีเรีย P.acnes ย่อยให้กลายเป็นกรดไขมัน ส่งเสริมให้สภาพแวดล้อมของผิวเหมาะกับการอยู่อาศัยของแบคทีเรีย เมื่อแบคทีเรียขยายตัวอย่างรวดเร็ว จะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ และเกิดเป็นสิวอักเสบได้(4)
  • การใช้เครื่องสำอาง เช่น แป้ง และครีมบางชนิดอาจมีส่วนผสมที่ทำให้อุดตันรูขุมขนได้(5)
  • อาหาร โดยอาหารจำพวกแป้งและอาหารที่มีรสชาติหวานอาจทำให้เกิดสิวได้ง่าย(5)
  • ยาบางชนิดทำให้เกิดสิวเพิ่มขึ้นได้ เช่น ยาสเตียรอยด์(5)

ACTRISAVETM คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร

ACTRISAVETM คือ การผสมผสานระหว่างสารสกัดจากข้าวสีนิล และสารสกัดจากผลพริกลีแพร์ซึ่งเป็นกระบองเพชรสายพันธุ์หนึ่ง ผลิตโดยบริษัท BIONAP ประเทศอิตาลี สารสกัดจากข้าวสีนิลมีสารสำคัญคือ Anthocyanin มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระสูง ส่วนสารสกัดจากผลพริกลีแพร์เป็นแหล่งของ Flavonoids สารสกัดทั้งสองเสริมฤทธิ์กันในด้านต่าง ๆ ดังนี้

  • ยับยั้งเอนไซม์ที่ทำให้เกิดความมันและสิว ช่วยลดเซลล์ต่อมไขมันบนผิวหน้าซึ่งเป็นสาเหตุให้หน้ามัน เกิดสิวอุดตันและสิวอักเสบได้(6)
  • ช่วยปกป้องเซลล์จากอนุมูลอิสระ และป้องกันผลกระทบของฮอร์โมนที่ไม่สมดุล ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดสิวและอาการผมร่วง(6-8)
  • ส่งเสริมการเจริญเติบโตของเส้นผม โดยกระตุ้นการเพิ่มจำนวนของเซลล์ตุ่มผมที่ต่อมรากผม(6)

สารสกัดจากบัวบกมีประโยชน์อย่างไร

บัวบกมีสารสำคัญคือ Asiaticoside มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบรรเทาอาการอักเสบของผิว และช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน จึงมีฤทธิ์ช่วยสมานแผลได้(9)

นาบิ แอคน่า-วิต กัมมี่มีวิตามินอะไรบ้าง มีประโยชน์อย่างไร

  • ซิงก์ (Zinc) ช่วยลดความมัน และลดการอักเสบ(10, 11)
  • วิตามินบี 3 ช่วยให้ผิวกระจ่างใส ลดจุดด่างดำ ลดการอักเสบ ลดความมัน และช่วยให้ผิวแข็งแรงขึ้น(12, 13)
  • วิตามินบี 5 ช่วยลดการอักเสบ เติมและกักเก็บความชุ่มชื้นให้กับผิว ช่วยฟื้นฟูเกราะป้องกันผิวและสมานแผล(14-16)
  • วิตามินซี มีความสำคัญต่อการสร้างผิวใหม่ ช่วยรักษารอยแผลจากสิว(17) ช่วยให้ผิวกระจ่างใส(13) ปกป้องผิวจากอนุมูลอิสระและรังสียูวี(17, 18)

วิธีการรับประทาน

รับประทานวันละ 2 ชิ้น ขณะท้องว่าง

รับประทานนานเท่าไรจึงจะเห็นผล

จากการทดลองในอาสาสมัครที่มีผิวหน้ามัน มีสิวผด สิวอุดตัน สิวอักเสบ พบว่าเมื่อรับประทานนาบิ แอคน่า-วิต กัมมี่ 14 วัน ผิวหน้าดูกระจ่างใสขึ้น สิวเริ่มลดลง และเมื่อผ่านไป 1 เดือน รู้สึกผิวหน้ามันน้อยลง และสิวลดลง ทั้งนี้ผลลัพธ์ที่ได้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล

รับประทานแล้วหน้าจะแห้งหรือไม่

ไม่ทำให้หน้าแห้ง เนื่องจากนาบิ แอคน่า-วิต กัมมี่ มีส่วนประกอบที่ช่วยลดความมันบนผิวหน้า ในขณะเดียวกันก็เติมความชุ่มชื้นให้กับผิว และช่วยฟื้นฟูผิวให้แข็งแรงขึ้น กักเก็บความชุ่มชื้นได้ดีขึ้นอีกด้วย

รับประทานแล้วจะดันสิวให้เห่อขึ้นมามากขึ้นหรือไม่

ไม่ดันสิวและไม่ทำให้สิวเห่อ เนื่องจากอาการสิวเห่อมักมาจากการใช้สารที่ก่อให้เกิดการอุดตัน การระคายเคือง การใช้สารที่เร่งการผลัดผิว ผิวขาดน้ำ รวมถึงต่อมไขมันผลิตน้ำมันออกมามากเกินไป(19, 20) ซึ่งส่วนประกอบในนาบิ แอคน่า-วิต กัมมี่ นั้นจะช่วยลดความมัน ลดการอักเสบ ช่วยให้ผิวชุ่มชื้นและแข็งแรงขึ้น

นาบิ แอคน่า-วิต กัมมี่ ไม่เหมาะกับใคร

  • เด็กและสตรีมีครรภ์
  • ผู้ที่เป็นโรคตับหรือมีปัญหาเกี่ยวกับตับไม่ควรรับประทาน(21)
  • ไม่ควรรับประทานร่วมกับยานอนหลับหรือยาคลายกังวล เพราะใบบัวบกอาจเกิดปฏิกิริยากับยาที่ใช้และอาจทำให้รู้สึกง่วงได้มากขึ้น(21)

อ้างอิง

  1. Wagner CL, Shary JR, Nietert PJ, et al. Bioequivalence Studies of Vitamin D Gummies and Tablets in Healthy Adults: Results of a Cross-Over Study. Nutrients. 2019;11(5).
  2. ผศ.นพ.วาสนภ_วชิรมน. สิว (ตอนที่ 1). นิตยสารวาไรตี้เพื่อสุขภาพ.ฉบับที่ 27 เดือน กันยายน 2559.
  3. Goulden V, Stables GI, Cunliffe WJ. Prevalence of facial acne in adults. J Am Acad Dermatol. 1999;41(4):577-80.
  4. Toyoda M, Morohashi M. Pathogenesis of acne. Med Electron Microsc. 2001;34(1):29-40.
  5. ผศ.นพ.วาสนภ_วชิรมน. สิว (ตอนที่ 2). นิตยสารวาไรตี้เพื่อสุขภาพ.ฉบับที่ 29 เดือน พฤษภาคม 2560.
  6. BONINA AF, BONINA C, inventors; BIONAP Srl, assignee. Compositions based on plant extracts for inhibition of the 5-alpha reductase patent EP15711875.3A. 2015.
  7. Sahib A, Al-Anbari H, Abu Raghif A. Oxidative stress in acne vulgaris: an important therapeutic target. Journal of Molecular Pathophysiology. 2013;2:27-31.
  8. Trüeb RM. Oxidative stress in ageing of hair. Int J Trichology. 2009;1(1):6-14.
  9. Sun B, Wu L, Wu Y, et al. Therapeutic Potential of Centella asiatica and Its Triterpenes: A Review. Front Pharmacol. 2020;11:568032.
  10. Prasad AS. Clinical, immunological, anti-inflammatory and antioxidant roles of zinc. Exp Gerontol. 2008;43(5):370-7.
  11. Demetree JW, Safer LF, Artis WM. The effect of zinc on the sebum secretion rate. Acta Derm Venereol. 1980;60(2):166-69.
  12. Gehring W. Nicotinic acid/niacinamide and the skin. J Cosmet Dermatol. 2004;3(2):88-93.
  13. สารทำให้ผิวขาวที่ใช้เป็นยาและเครื่องสำอาง Skin whitening agents used in drugs and cosmetics [Internet]. ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์. 2565 [cited 4 เม.ย. 2565]. Available from: https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=1155.
  14. Yang M, Moclair B, Hatcher V, et al. A randomized, double-blind, placebo-controlled study of a novel pantothenic Acid-based dietary supplement in subjects with mild to moderate facial acne. Dermatol Ther (Heidelb). 2014;4(1):93-101.
  15. Team CD. Pantothenic Acid (Vitamin B5) for Acne: Does it Work and How to Use it? : City Doctor; [cited 2023 April 18]. Available from: https://citydoctor.ae/blog/pantothenic-acid-vitamin-b5-for-acne-does-it-work-and-how-to-use-it/.
  16. Kobayashi D, Kusama M, Onda M, et al. The effect of pantothenic acid deficiency on keratinocyte proliferation and the synthesis of keratinocyte growth factor and collagen in fibroblasts. J Pharmacol Sci. 2011;115(2):230-4.
  17. Pullar JM, Carr AC, Vissers MCM. The Roles of Vitamin C in Skin Health. Nutrients. 2017;9(8).
  18. คณะกรรมการและคณะทำงานปรับปรุงข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย. ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2563 DIETARY REFERENCE INTAKE FOR THAIS 2020. กรุงเทพฯ: เอ.วี. โปรเกรสซีฟ; 2563.
  19. Team S. สาเหตุของ สิวเห่อ คืออะไร: SkinX; 2565 [cited 4 พฤษภาคม 2566. Available from: https://skinx.app/content/acne/acne-breakout.
  20. ศุภานิช_สุริโย, ภัทรีวัลย์_โรจนพันธุ์. สิวเห่อ เกิดจากอะไร และรักษาได้อย่างไรบ้าง: Hellokhunmor; 2565 [cited 4 พฤษภาคม 2566. Available from: https://hellokhunmor.com/สุขภาพผิว/สิว/สิวเห่อ-สาเหตุ-วิธีรักษา-การป้องกัน/.
  21. Gotu Kola – Uses, Side Effects, and More: WebMD; [cited 2023 April 18]. Available from: https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-753/gotu-kola

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *